NPE MPR-208VAเบรกเกอร์ไฟ 30A
รหัสสินค้า : MPR-208VA
ราคา |
5,800.00 ฿ |
จำนวนที่จะซื้อ | |
ราคารวม | 5,800.00 ฿ |
สินค้าไม่เพียงพอ
สินค้าหมด
รายละเอียดสินค้า
NPE MPR-208VA เบรกเกอร์ไฟ 30A
MAX CURRENT : Breaker 2 ( 30A x 2 )
POWER INPUT : AC 220V 50/60Hz
CHANNELS : 8 Channels ( 4 CH. x 2 )
VOLTAGE/CURRENT METER : Digital Voltage meter display
# : +/- 1% Noload accuracy , +/- 1% Accuracy of full - load
MPR 208VA เบรกเกอร์ไฟ 30A จาก NPE
- 11/24/2019 REVIEWS 1316
“MPR 208VA ทนกระแสได้สูง เน้นงานหนัก ต่อกับเพาเวอร์แอมป์ได้หลายเครื่อง”
สำหรับเบรกเกอร์ของนัฐพงษ์ฯ NPE MPR 208VA เป็นซีรี่ส์รุ่นใหญ่อีกหนึ่งรุ่น เมื่อเทียบกับ MPR-1033DB/MPR-1030DL ซึ่งตัว MPR-208VA เป็นเบรกเกอร์ขนาด 2U มีช่องสำหรับต่อใช้งาน 8 ช่อง มีวงจรเบรกเกอร์ขนาด 30A แยกออกเป็น 2 ชุด โดยเบรกเกอร์ 1 ตัวจะต่อกับเอาท์เล็ต 4 ตัว หรือ 4 ช่องนั่นเอง โดยแต่ละช่องจะมีมิเตอร์คอยวัดกระแสว่า ขณะนั้นอุปกรณ์กินกระแสไปเท่าไหร่
จุดเด่นของอุปกรณ์รุ่นนี้ จะเน้นเรื่องการทนกระแส รวมถึงรองรับการทำงานหนักๆ มีความแข็งแรงทนทาน ทนกระแสได้สูง ภายในเครื่องได้คัดสรรสายไฟเบอร์ใหญ่ เราอาจเคยเห็นสายของเบรกเกอร์ที่มีขนาดเบอร์ 2.5 แต่อุปกรณ์รุ่นนี้ใช้สายขนาด 4 Sqr. mil. สามารถทนกระแสได้สูง
ในการทำงานพื้นฐานนั้น เมื่อมีการเสียบปลั๊กไฟ จะมีโวลมิเตอร์โชว์ตรงกลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าขณะนั้นๆ มีแรงดันไฟจ่ายเข้ามาเท่าไหร่ และมีเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัวละ 30A เมื่อเราเปิดเบรกเกอร์ 1 ตัว มันจะควบคุมเอาท์เล็ต 4 ช่อง โดยทั้ง 4 ช่องนั้นจะแยกแอมป์มิเตอร์ออกมาต่างหาก ส่วนอีกฝั่งก็มีเบรกเกอร์อีกหนึ่งตัว วงจรแยกอิสระ ตรงนี้ทำให้เราเช็คสถานะการทำงานของแรงดันไฟได้
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ภาพรวมของ MPR 208VA
- จุดเด่นของ MPR 208VA
- การทำงานของ MPR 208VA
- ประยุกต์ใช้งานได้กว้าง
- MPR 208VA ต่างกับเพาเวอร์ปลั๊กอย่างไร
- มีระบบแจ้งเตือน
- คุณสมบัติเฉพาะทางเทคนิค
- สรุป
ภาพรวมของ MPR 208VA
ในการเชื่อมต่อเพื่อใช้งาน ตัวเครื่องมีเบรกเกอร์ 30A มีปลั๊กแต่ละช่อง ซึ่งนำไปต่อกับเพาเวอร์แอมป์ได้ จะต่อกับเพาเวอร์แอมป์จำนวน 8 เครื่องก็ทำได้ แต่ว่ากระแสที่ใช้รวมแล้วต้องไม่เกิน 30A โดยปกติเบรกเกอร์ที่นัฐพงษ์ฯ เคยขายอาจเห็นเป็นตัวเล็กๆ ขนาด 1U เหมาะกับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่เป็นคอนโทรลเลอร์ EQ คอมเพรสเซอร์ มิกเซอร์ แร็คเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่กินกระแสไม่มาก
แต่ถ้าใช้งานกับเพาเวอร์แอมป์จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทนกระแสสูงๆ เนื่องจากเพาเวอร์แอมป์ต้องการกระแสมาก ทางนัฐพงษ์ฯจึงออกแบบเบรกเกอร์ MPR 208VA ออกมาจำหน่าย ใช้สายเบอร์ 4 ตัวเครื่องแข็งแรง ทนทาน สิ่งที่แตกต่างอีกอย่างคือการเดินวงจรภายใน สำหรับเบรกเกอร์ที่เราเห็นโดยทั่วไปนั้น มักจะต่อขนานกันไปเรื่อยๆ แต่สำหรับเบรกเกอร์รุ่นนี้จะมีการเชื่อมต่อวงจรตรงกลาง โดยแยกสายเบอร์ 4 ไปหาปลั๊กแต่ละตัว ดังนั้นทำให้ทนกระแสได้เท่ากัน ไม่มีตัวไหนดึงกระแสมากกว่า
บางรุ่นอาจจะพบว่าจ่ายไฟเข้าหนึ่งช่องแล้วต่อพ่วงกันไปเรื่อยๆ นั่นหมายถึงกว่ากระแสจะผ่านไปถึงเต้าเสียบตัวสุดท้าย กระแสจะต้องผ่านตัวแรกก่อน ทำให้ปลั๊กตัวแรกกับตัวสุดท้ายดึงกระแสต่างกัน และหากปลั๊กหลวมจะทำให้เกิดการอ๊าคได้ง่าย
ฉะนั้นในรุ่น 208VA จะต่อวงจรแยกอิสระไปเลย ทำให้การจ่ายกระแสไม่มีการดึงกันเอง เมื่อนำไปใช้งานกับเพาเวอร์แอมป์ ก็จะดึงกระแสได้เต็มที่ ระบบจะไม่ดึงกระแสร่วมกับปลั๊กตัวอื่นๆ ถ้าเป็นเบรกเกอร์บางรุ่น ลองนึกถึงรางปลั๊กไฟ ที่ใช้ในบ้าน มันจะมีจุด Jump อยู่ ปัญหามักจะเกิดกับจุดที่ Jump ทำให้เกิดการอ๊าคได้
สมมติเต้าปลั๊กสุดท้ายต่อกับเพาเวอร์แอมป์ กระแสจะดึงผ่านจุด Jump ไปเรื่อยๆ แต่ 208VA จะวิ่งไปหาปลั๊กแต่ละตัวแยกกัน สำหรับการเดินสายวงจรภายใน มีความสวยงาม เป็นสายเบอร์ใหญ่ ได้มาตรฐาน ดังนั้นอุปกรณ์ตัวนี้จึงสามารถรับโหลดได้สูง และต่อเนื่องได้ดี
จุดเด่นของ MPR 208VA
จุดเด่นของเบรกเกอร์ 208VA ตัวนี้ ซึ่งถือว่าเด่นกว่าตัวอื่นๆ ที่นัฐพงษ์ผลิตออกมา นั่นคือขนาดของสายไฟ กับการเดินวงจรไฟฟ้าภายในเครื่อง โดยไม่ให้ปลั๊กดึงไฟร่วมกัน มีการออกแบบให้ปลั๊กแต่ละตัวแยกจ่ายกระแสอย่างอิสระ ไม่ใช้วิธีต่อพ่วง มีการใช้สายเบอร์ใหญ่ มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะอย่างยิ่งกับการใช้กับเพาเวอร์แอมป์ เพราะหลายคนมักจะซื้อเบรกเกอร์ตัวเล็กๆ มาใช้กับเพาเวอร์แอมป์ ปัญหาที่ตามมาคือสายมักจะร้อน
เนื่องจากใช้สายขนาดเล็ก เพราะเพาเวอร์แอมป์ดึงไฟเยอะ ดังนั้นจึงมีการออกแบบสายไฟให้มีขนาดใหญ่ จึงเหมาะต่อการใช้กับเพาเวอร์แอมป์โดยตรง ซึ่งเบรกเกอร์ตัวนี้นับเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ดี เบรกเกอร์รุ่นนี้จะไม่มีไฟสีเขียว สีแดง สีส้มแจ้งสถานะการทำงานของอุปกรณ์ มีการตัดช่องจ่ายไฟ USB ออกไป เพราะออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานหนักๆ ซึ่งจะเห็นว่าในการออกแบบนั้นต่างจากเบรกเกอร์ที่ใช้กับแร็คคอนโทรล
ตัวอย่างเช่น หากเรามีแร็คมิกเซอร์ แร็คเอฟเฟ็กต์ แร็คเพาเวอร์แอมป์ เบรกเกอร์ที่นำมาใช้งานก็จะแตกต่างกัน 208VA ก็จะใช้กับแร็คเพาเวอร์แอมป์เพราะรองรับกระแสได้สูง ส่วนแร็คไมค์ลอย แร็คคอนโทรล อาจเลือกเบรกเกอร์รุ่นเล็กลงมาได้ เช่น ขนาด 1U เพื่อประหยัดพื้นที่ติดตั้ง เบรกเกอร์ตัวนั้นอาจจะมี LED ส่องให้ความสว่างกับตู้แร็คเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานตอนกลางคืน
หรือถ้าเป็นอุปกรณ์แร็คไมค์ลอย อาจจะไม่จำเป็นเพราะหน้าจอเป็น LED อยู่แล้ว ด้านหน้าอาจจะมีเต้าเสียบเพิ่มให้ หรือช่อง USB ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ ตัว 208VA จะเหมาะกับการใช้งานที่เน้นงานหนักและจ่ายกระแสได้เยอะ อุปกรณ์จะไม่มีลูกเล่นมากมาย
ปกติแล้วอุปกรณ์แต่ละประเภทจะมีเบรกเกอร์ของมันอยู่แล้ว เช่น แร็คไมค์ลอย แร็ค EQ สามารถนำสายไฟของเบรกเกอร์แต่ละแร็คมาต่อกับเบรกเกอร์ 208VA ตัวนี้ได้ ซึ่งเบรกเกอร์ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายกระแสหลักให้เบรกเกอร์ย่อยของแต่ละแร็คอีกทีก็ทำได้เหมือนกัน เพราะบางครั้งเราลากสายเมนมาเส้นเดียว แล้วต่อกับเบรกเกอร์ 208VA ตัวนี้ แล้วค่อยกระจายไปยังแร็คต่างๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้กับเพาเวอร์แอมป์เพียงอย่างเดียว
ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ บางครั้งอาจเชื่อมต่อในลักษณะเป็นตัวกลางคุมไฟ ที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายๆ จุด แต่ไม่มีเบรกเกอร์ควบคุม ก็สามารถนำเบรกเกอร์ตัวนี้ไปใช้งานได้ สำหรับอุปกรณ์ตัวนี้ให้สายไฟยาว 4 เมตร ปลั๊ก 3 ขา มีกราวน์พร้อม
การทำงานของ MPR 208VA
ตัวเบรกเกอร์สามารถทนกระแสได้ 30A สมมติว่า มีจำนวน 8 ช่อง ไม่ได้หมายความว่าแต่ละช่องจะจ่ายได้ 30A แต่ตัวเลขนี้เป็นสเป็คการทนกระแสทั้งเครื่อง จริงๆ แล้วเบรกเกอร์ 1 ตัวมีขนาด 30A แม้ว่าจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ 2 เครื่อง ตัวเบรกเกอร์ก็ยังทำงานอยู่นะ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของสาย รุ่นนี้จะใช้เบอร์ 4 ซึ่งเป็นสายเบอร์ใหญ่สามารถทนกระแสได้สูง
ทั้งนี้ทั้งนั้น กระแสจะวิ่งได้กี่แอมป์ ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของสายด้วย เพราะต่อให้เราใช้สายเบอร์เล็ก ตัวเบรกเกอร์อาจทนได้ 30A หรือสูงกว่า สุดท้ายสายจะทนไม่ได้ โดยรวมแล้วสายหรืออุปกรณ์ตัวนี้มันทนได้ 30A ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งจ่ายกระแสเข้ามาด้วย เพราะมันขึ้นอยู่กับทาง สมมติ ต่อไฟจากไฟฟ้าภายในบ้าน ยังไงก็ไม่ถึง 30A เพราะโดยทั่วไปไฟฟ้าในครัวเรือนจะจ่ายกระแสที่ 15A หากเราไปใช้งานกับเครื่องปั่น ใช้ในโรงแรม หรือตู้โหลดที่จ่ายกระแสสูงๆ รุ่น 208VA ก็ใช้งานได้
บางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่า 208VA จ่ายไฟได้ 30A อย่างไรก็ตาม ค่ากระแสจะขึ้นอยู่กับกระแสจากต้นทางที่ป้อนให้เบรกเกอร์ ว่าไปแล้วเบรกเกอร์เปรียบเสมือนสวิตซ์ไฟ หากมีการดึงกระแสเกิน 30A ตัวเบรกเกอร์จะดีด เพื่อตัดการจ่ายไฟให้อุปกรณ์ ป้องกันการช็อต ที่เราพูดถึงค่า 30A มันเป็นค่าการทนกระแสในขณะใช้งาน ฉะนั้น 208VA จึงเปรียบเสมือนเป็นสะพานไฟ ต่างกับอุปกรณ์ประเภท UPS ที่จ่ายกระแสออกมา ซึ่งอาจจะเป็นกระแสที่รับมาจากเครื่องปั่นไฟ
เมื่อกระแสจ่ายมาที่เบรกเกอร์ ตัวเบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นรางไฟ แล้วมันจะกระจายกระแสไปยังอุปกรณ์แต่ละตัว ส่วนคำว่า 30A มันเป็นสเป็คของการทนกระแสของรางไฟรุ่นนี้ กรณีอุปกรณ์ที่นำมาต่อกับเบรกเกอร์ดึงกระแสเกิน 30A เราอาจเลือกเบรกเกอร์ที่ทนกระแสได้สูงกว่านี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ
ประยุกต์ใช้งานได้กว้าง
หากนำ MPR 208 VA มาต่อกับเพาเวอร์แอมป์รุ่น NPE F-8000, T-12000 เคยมีการทดลองพบว่าแอมป์หนึ่งแท่น ที่ทำงานตามปกติ ยังไม่ดึงกระแสมากนัก แบบปกติที่ชู้ทเอาท์กัน มันจะกินกระแสราว 10A-11A หากนำเพาเวอร์แอมป์มาต่อก็จะได้ประมาณ 3 แท่น รวมแล้วได้ 30A พอดี หากต่อ 4-5 แท่นขึ้นไป ก็จะเริ่มอันตราย เพราะมีการดึงกระแสเกินสเป็คของเบรกเกอร์
แต่ถ้าเพาเวอร์แอมป์ใช้ประมาณ 5A เราต่อเพาเวอร์แอมป์เข้าไปสัก 3 แท่น ก็จะใช้กระแสแค่ 15A ว่าไปแล้วเบรกเกอร์จะคล้ายๆ กับฟิวส์ เพียงแต่ฟิวส์เวลากระแสเกินมันจะขาด แต่หากเป็นเบรกเกอร์มันจะดีดเพื่อตัดวงจรไม่ให้จ่ายกระแสออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก เพื่อป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ เช่น หัวปลั๊ก ที่ต่อกับปลั๊กอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นจะมีค่าทนกระแสเฉพาะ
เมื่อพูดถึงค่า 30A มันคือค่าที่อุปกรณ์ทนได้นั่นเอง ในกรณีที่ใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีเบรกเกอร์มาช่วย หากดึงกระแสสูงๆ จะเกิดปัญหาความร้อนขึ้นเร็ว หรือปลั๊กและสายละลาย หรืออาจจะไหม้ได้ เบรกเกอร์ 208VA ไม่ใช่ตัวบูสต์กระแสไฟ ซึ่งบางคนเข้าใจผิดคิดว่าเบรกเกอร์ 30A เป็นตัวบูสต์กระแส เพราะมันเป็นตัวทนกระแส ไม่ได้เป็นตัวผลิตกระแส อันที่จริงมันเป็นแค่สะพานไฟ หรือรางไฟที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ในตู้แร็คของเรา
สมมติ ในตู้แร็คของเรามีเพาเวอร์แอมป์ 3 แท่น หากไม่มีเบรกเกอร์เราต้องลากสายไฟของเพาเวอร์แอมป์ไปต่อกับปลั๊กไฟภายนอก แต่เวลาใช้งานจริง หากจะลากสายไฟออกไปหลายๆ เส้น มันก็ไม่สะดวก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เอาท์เล็ตเบรกเกอร์ตัวนี้ใส่ไว้ในตู้แร็ค เพื่อต่อกับปลั๊กอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้แร็คเหล่านั้น
MPR 208VA ต่างกับเพาเวอร์ปลั๊กอย่างไร
เบรกเกอร์ยังคล้ายกับเพาเวอร์ปลั๊ก ซึ่งเพาเวอร์ปลั๊กจะรับกระแสได้มากกว่า ถ้าเป็นสีน้ำเงินจะรับกระแสได้ 16A หรือสีแดงจะเป็น 32A จริงๆ มันก็คือปลั๊กไฟ แต่เป็นชนิดทนแรงดันหรือกระแสได้สูง สังเกตว่าอุปกรณ์เหล่านี้เวลาเสียบกับขั้วต่อมันจะแน่นมาก เพราะแกนมีขนาดใหญ่ อีกส่วนพวกปลั๊กมาตรฐานที่เราใช้พวก 3 ขาทั้งหลาย เวลาใช้งานหากเจอกระแสที่สูงมากๆ หรือเจอเครื่องที่ดึงกระแสทีเดียว 30A-40A อุปกรณ์เหล่านี้ก็ทนไม่ได้เช่นกัน ก็จะเกิดการสป๊าคเพราะหน้าสัมผัสมันเล็กซึ่งต้องเปลี่ยนเป็นเพาเวอร์ปลั๊ก
ในวงการก่อสร้างก็มักจะใช้ปลั๊กแบบนี้ ลากเป็นสายเมนแล้วนำไปต่อกับอุปกรณ์ สิ่งที่ต่างกันอีกอย่างคือเพาเวอร์ปลั๊กนั้นเป็นแค่ปลั๊ก ในขณะเบรกเกอร์นั้นจะเป็นปลั๊กที่มาพร้อมเบรกเกอร์ใช้งานได้สารพัด โดยเฉพาะงานกลางแจ้ง เราสามารถเปลี่ยนเป็นเพาเวอร์ปลั๊กก็ได้ ในรุ่น 208VA นั้นเป็นปลั๊กแบบสามขา รองรับอุปกรณ์หลากหลาย เช่น ผู้ใช้มีเครื่องเสียงชุดเคลื่อนที่เอนกประสงค์ มีชุดแร็ค 1 ตู้ มีมิกเซอร์ ครอสโอเวอร์ มี EQ ทั้งหมดติดตั้งอยู่ในตู้แร็คเดียวกัน
ในการใช้งานอุปกรณ์แต่ละตัวจะมีปลั๊กของมันเอง บางคนเวลาใช้งานก็ต้องหาปลั๊กพ่วง เราอาจจะใส่เบรกเกอร์เข้าไปอีกตัวหนึ่ง นั่นคือเอาท์เล็ตเบรกเกอร์ แล้วนำปลั๊กของอุปกรณ์ต่างๆ มาต่อผ่านเบรกเกอร์ตัวนี้ มันก็คล้ายรางไฟทั่วไป แต่คุณภาพอุปกรณ์จะดีกว่ารางไฟที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ข้อแรกสามารถทนกระแสได้มากกว่า สายไฟทั่วไป การต่อกับรางไฟจากตู้แร็คก็ลากไปเส้นเดียว จะเป็นรางไฟปกติ หรือตู้โหลดก็ได้
มีระบบแจ้งเตือน
MPR 208VA มีเสียงแจ้งเตือนในกรณีแรงดันไฟเกิน 250V แต่อุปกรณ์จะไม่ตัดไฟ ระบบจะเตือนให้ทราบว่าไฟมาเข้ามาเกินค่ามาตรฐาน มันจะมีมิเตอร์โชว์แรงดันไฟและเสียงเตือนดังขึ้น หากแรงดันไฟไม่เกิน 250V อุปกรณ์จะไม่เตือน แต่จะโชว์ให้เห็นค่าแรงดันในขณะนั้นๆ เมื่อเสียบปลั๊กไฟ ระบบจะโชว์ให้เห็นเลยว่า ขณะนั้นไฟเข้ามากี่โวลต์
แต่ค่าแอมป์หรือกระแสไฟจะไม่โชว์จนกว่าเราจะเปิดเบรกเกอร์ ซึ่งมันจะมี 2 ตัว ข้างละ 1 ตัว มันจะโชว์ค่าแอมป์หลังจากที่ต่ออุปกรณ์ใช้งาน ระบบจะแสดงค่ากระแสว่าขณะนั้นว่า มีการใช้กระแสไปเท่าไหร่ สะดวกกับผู้ใช้งานที่ต้องการรู้ว่าขณะนั้นใช้ไฟไปกี่แอมป์แล้ว หรือกรณีต่อกับเพาเวอร์แอมป์มันจะโชว์ให้เห็นว่าขณะนั้นระบบดึงกระแสไฟไปเท่าไหร่
คุณสมบัติเฉพาะทางเทคนิค
- Max Current : Beaker 1, 2 = 30Ax2
- Power Frequency : 50Hz/60Hz
- Power Input : AC 220V
- Channels : 8 (Ch. 4×2)
- Display : Volt/Current AC Meter
- Alarm : เตือนเมื่อแรงดันไฟเกิน 250VAC
- Weight : 6.3kg
สรุป
หากถามว่าทำไมต้องใช้งาน MPR 208VA ข้อแรกมีความสะดวกต่อการใช้งาน ข้อสองรองรับการทน/รับกระแสได้สูงถึง 30A เหมาะกับตู้แร็คที่ติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องการกระแสสูงๆ เช่น เพาเวอร์แอมป์ หรือตู้แร็คที่ใช้กระแสไม่สูงจำนวนหลายๆ ตู้ นอกจากนั้น MPR 208VA ยังช่วยในเรื่องความสะดวกต่อการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องลากสายมาต่อกับปลั๊กไฟให้วุ่นวาย
เพราะเมื่อเรานำอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้งาน จำเป็นต้องออกแบบระบบให้มีความปลอดภัยสูง รองรับงานหนักๆ ได้ ซึ่งเบรกเกอร์ตัวนี้ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ รวมถึงยังสามารถนำไปใช้งานเอนกประสงค์ เพราะขั้วปลั๊กไฟที่นำมาผลิตเป็นแบบชนิด 3 ขา (Universal) สามารถใช้กับปลั๊กทั่วไปได้ ดังนั้นเบรกเกอร์รุ่นนี้จึงใช้งานง่าย แข็งแรง ทนทาน และมีความปลอดภัย